6.7.13

ปิดเทอมใหญ่หัวใจพองโต... Back to school: Lesson 4

I love to bind . . . (part 2)

บทเรียนที่ 4: 6.06.2013
Meet the Fox (again ^^)

กลับมายืนที่เดิม...ที่ที่เคยคุ้นตา ณ.ห้องเย็บสมุด Black Fox Bindery กลับมาเจอคุณครูNicky Oliverอีกครั้ง พร้อมบทเรียนการเย็บคิ้วหนังสือ (Sewing Headband) และการทำลวดลายบนขอบหนังสือ (Edge Decoration) คุณครูและนักเรียนทักทายกันอย่างสนุกสนาน^^ พร้อมคำสารภาพเบาๆจากนักเรียนว่ายังไม่ได้ทบทวนบทเรียนจากที่พบกันเมื่อปีที่แล้วเลย T T" (...แล้วเมื่อไหร่จะฝึก??? ครูNickyคงอยากถามออกมาดังๆ!...555)

เราเริ่มการเรียน Edge Decoration ด้วยการขัดขอบหนังสือทั้ง3ด้านด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ได้พิ้นผิวที่เรียบเนียนสม่ำเสมอกัน ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำงาน ...ขัด ขัด ขัด...แล้วก็ ขัด ขัด ขัด...แรงมากแรงน้อย เร็วมากเร็วน้อย ล้วนแล้วแต่มีผลกับพื้นผิวของขอบหนังสือ หลังจากมือขัดสมัครเล่นถูไถขอบหนังสืออยู่พักใหญ่ คุณครูตรวจสอบผลงานว่าพอใช้ได้ (เอิ่ม..แค่พอใช้ได้เท่านั้น -_-") จึงเริ่มบทเรียนเทคนิคต่างๆในการทำลวดลายบนขอบหนังสือ 
การทำ Edge Decoration เป็นศาสตร์การตกแต่งหนังสือให้มีความสวยงามน่าสนใจยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประณีตและสร้างสรรค์ของนักเย็บสมุด ซึ่งในทางกลับกันก็อาจเป็นการทำลายความงามของหนังสือได้เช่นกัน ถ้าการเตรียมพื้นผิวของขอบหนังสือที่รองรับสีหรือหมึกพิมพ์ไม่ได้รับการเตรียมอย่างถูกต้อง

จากนั้นเราขยับมาที่บทเรียนการเย็บคิ้วหนังสือ (Sewing headband) โดยทั่วไปแล้วเราสามารถหาซื้อคิ้วหนังสือที่ทำสำเร็จแล้วมาใช้ในงานเย็บสมุดได้เลยโดยการทากาวติดไปที่ขอบบนและล่างของสันหนังสือ แต่การเย็บคิ้วหนังสือติดเข้ากับตัวไส้ในของหนังสือเลยจะทำให้หนังสือแข็งแรงยิ่งขึ้น ครูNickyอธิบายว่า การเย็บสมุดที่ถูกต้องสมุดหรือหนังสือจะต้องวางตั้งตรงด้วยตัวปกเท่านั้น คิ้วหนังสือจะต้องไม่สัมผัสกับพื้นผิวใดๆเมื่อวางหนัวสือตั้งตรง เพราะฉะนั้นขนาดของปกหน้าและปกหลังควรมีความยาวเกินคิ้วหนังสือเล็กน้อยเพื่อรองรับน้ำหนักของหนังสือ
หน้าที่ของคิ้วหนังสือหลักๆมี3อย่างคือ 1.เสริมความแข็งแรงให้สันหนังสือ ในกรณีที่หนังสือวางตั้งตรงและถูกดึงออกมาบ่อยๆจากชั้นวาง 2.ป้องกันฝุ่นละอองเล็ดลอดเข้าไปในแต่ละsectionของหนังสือ 3.เพื่อความสวยงาม ซึ่งนักเย็บสมุดสามารถสร้างสรรค์สีสันของคิ้วหนังสือตามต้องการด้วยด้ายที่ใช้เย็บคิ้วหนังสือ และเช่นเคย ทุกอย่างต้องหมั่นฝึกฝนและปฏิบัติให้ชำนาญ...ห้ามลืม! (หรือห้ามขี้เกียจนั่นเอง!!!)

ติดตามผลงานของคุณ Nicky Oliver ได้ที่ www.blackfoxbindery.com

Back to school: Lesson 3

I love to bind . . . (part 1)


บทเรียนที่ 3: 30-31.05.2013
Teacher, Saranghaeyo...!

คลาสเรียนเย็บสมุด2วันนี้เป็นการเรียนเย็บสมุดแบบ Bradel binding แบบที่เคยทำมา (แต่ไม่ใคร่จะเก่งซักที T T") พร้อมกับการทำ Slip case หรือกล่องใส่สมุดแบบเสียบกับคุณYoung S. Kim แห่งสตูดิโอ Home&Book ค่ะ

คุณYoung เป็นชาวเกาหลีที่ผันชีวิตมาเป็นนักเย็บสมุดในกรุงลอนดอนยาวนานกว่า10ปี นอกจากนี้ยังเป็นคุณครูสอนเย็บสมุด และอาสาสมัครทำงานชุบชีวิตหนังสือ (Book Restorer) และอนุรักษ์หนังสือเก่า (Book Conservator) ที่ห้องสมุดของพิพิธภัณฑ์ Victoria & Albert Museum, Londonอีกด้วย

นักเรียนสอบถามคุณครูถึงจุดเริ่มต้นของการมาเป็นนักเย็บสมุด หรืออะไรที่ทำให้ชาวเอเชียย้ายมาใช้ชีวิตเป็นนักเย็บสมุดที่ซีกโลกตะวันตกนี้ คำตอบสั้นๆที่ได้จากคุณครูคือ..."ฝัน"ค่ะ! (หาาา !!! *O*) ครูYoungเล่าว่าก่อนหน้านี้ตอนที่ยังใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเกาหลีคุณครูไม่สบายมากจนต้องหยุดทำงานและพักอยู่ที่บ้าน อยู่มาวันหนึ่งคุณครูหลับและฝันไปว่าได้เย็บสมุด ในฝันรู้สึกดีมาก (เกิดมาเพื่อสื่งนี้จริงๆค่ะ!) ตื่นมาเลยรู้้สึกว่าต้องทำความรู้จักกับการเย็บสมุด โดยเลือกมาศึกษาที่กรุงลอนดอน (ในสถาบันเดียวกันกับคุณ Simon Goodge ผู้ก่อตั้งLCBA) พร้อมทั้งหมั่นศึกษาการเย็บสมุดด้วยตัวเองและฝึกฝนทักษะกับนักเย็บสมุดมืออาชีพหลายท่าน จากนั้นเวลาก็ล่วงเลยมากว่า10ปีที่คุณYoungได้ผลิตผลลงานการเย็บสมุดที่ประณีตสวยงามมากมาย

เราใช้เวลาด้วยกัน2วันเต็มในการเรียนเย็บสมุดแบบ Bradel binding และการทำ Slip case... สนุก มีความสุข ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และเพลิดเพลิน... สุดท้ายครูและนักเรียนร่ำลากันในเย็นย่ำของการเรียนวันที่2 เราสัญญาว่าจะตืดต่อกันสม่ำเสมอ (แปลได้อีกนัยหนึ่งว่า จะ(พยายาม)ส่งผลงานให้คุณครูตรวจเป็นระยะๆ) รู้ตัวอีกทีว่ากำลังขาอ่อนแรงเมื่อได้"นั่ง"รถไฟกลับบ้าน... ใช่แล้ว! 2วันเต็มที่ผ่านมามีช่วงเวลาพักกลางวันเพืียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้นที่ครูและนักเรียนละสายตา วางมือ (พักขา) จากการเย็บสมุด เพราะคุณครูYoungให้ข้อคิดสำหรับนักเย็บสมุดไว้ว่า ขณะที่ทำงานเราต้องมองสมุดได้ในทุกๆมุม เพื่อให้ได้สมุดที่มีสัดส่วนถูกต้องสวยงาม... จะเย็บสมุดให้งาม ต้องยืนเย็บสมุดนะจ้ะ!!
(เมื่อยมากจ้า!!! ^^")

ติดตามผลงายของคุณ Young S. Kim ได้ที่ www.homeandbook.com
email: youngskim@gmail.com Tel.07865 046 266 

Back to school: Lesson 2

My dream workspace . . . 

บทเรียนที่ 2: 29.05.2013
Letterpress night at LCBA

LCBA หรือ London Center for Book Arts ก่อตั้งขึ้นโดยคุณ Simon Goodge ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่ทำงานให้แก่ศิลปิน นักออกแบบ และบุคคลทั่วไปที่รักในงานฝีมือการเย็บสมุดและศิลปะการพิมพ์รูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการพิมพ์ด้วยระบบตัวเรียงแบบโบราณ

ภายในโกดังขนาดย่อม (ที่ทำงานในฝันนนนน ...*0*) LCBA อัดแน่นไปด้วยอุปกรณ์สำหรับงานพิมพ์ด้วยมือหลากหลายชนิด (โอ้ว...พระเจ้า!), ตัวเรียงพิมพ์ทั้งแบบไม้และแบบตะกั่ว (งดงาม ตระการตา+_+), วัสดุอุปกรณ์งานเย็บสมุด (แจ๋ว!!) รวมไปถึงแท่นพิมพ์จากหลายยุคหลายสมัย เรียกได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์การพิมพ์ขนาดย่อมเลยทีเดียว

คลาสเรียนในค่ำคืนนี้พวกเรา (8คน จากต่างที่ต่างถิ่น) ได้เรียนรู้การทำงานเบื้องต้นกับตัวเรียงพิมพ์ทั้งแบบไม้และแบบตะกั่ว คุณครูMark Pavey ได้อธิบายถึงความแตกต่างของการพิมพ์จากวัสดุทั้ง2ชนิดว่า ผลลัพธ์ของการพิมพ์ด้วยตัวเรียงพิมพ์ตะกั่ว (letterpress)จะให้ความคมชัดมากกว่าการพิมพ์ด้วยตัวเรียงพิมพ์ไม้ (woodblock)เนื่องจากมีพื้นผิวที่เรียบเป็นมัน ในขณะที่ตัวเรียงพิมพ์ไม้อาจสร้างพื้นผิวที่ไม่เรียบเนียนจากความผุกร่อนของไม้หรือลายไม้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล ความสวยงามหรือความคมชัดยังขึ้นอยู่กับแรงกดทับของมือ หรือแม้กระทั้งวัสดุที่ใช้รองรับงานพิมพ์ (เพราะฉะนั้นมือใครมือมัน ความเบี้ยว ความบูด ความสวยไม่เข้าใครออกใคร!)...
นอกจากคลาสเรียนและworkshopที่ทาง LCBA จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในทุกเดือน เรายังสามารถขอเช่าพื้นที่และวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตชิ้นงานของเราเองได้อีกด้วยนะคะ

ติดตามข่าวสารของ LCBA ได้ที่ www.londonbookarts.tumblr.com
Please call before a visit Tel.020 8525 8221, Tuesday-Saturday 11-6pm.
Unit 18 (Ground Floor), Britannnia Works, Dace Road, Fish Island E3 2NQ London

Back to school: Lesson 1

หนีร้อนจัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ไปพึ่งหนาว(มากกก..)ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษมาค่ะ หยุดพักการเป็นคุณครูกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้งกับคลาสเรียนใหม่มากมาย ทั้งศิลปะการทำกระดาษ Ebru Marble Paper, การทำงานกับตัวเรียงพิมพ์ตะกั่ว(letterpress) และตัวเรียงพิมพ์ไม้(woodblock),และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือกิจกรรมงานเย็บสมุดที่คุ้นเคย


Ebru Marble Paper

บทเรียนที่ 1: 27.05.2013 
Ebru. . . I love you!

คลาสเรียนแรกที่ได้เข้ารายงานตัวคือการทำกระดาษ Ebru Marble Paper กับคุณHayrettinแห่งสตูดิโอ Ebru Workshop คุณHeyrettinเป็นนักทำกระดาษชาวตุรกีแท้ดั้งเดิมที่ย้ายมาก่อตั้งสตูดิโอทำกระดาษอยู่ที่ลอนดอนเมื่อหลายปีก่อนค่ะ คุณครูอธิบายให้ฟังว่า Ebru Marble Paper เป็นการทำลวดลายกระดาษของชาวตุรกีที่แตกต่างจาก marble paper ของชาติอื่นๆตรงที่วัตถุดิบทุกอย่างในการสร้างสรรค์ลวดลายล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมหลักหรือน้ำที่มีความเข้มข้นสูงที่จะทำให้สีลอยอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งต้องทำการผสมไว้ล่วงหน้า2วันก่อนลงมือทำงาน, สีในการทำลวดลายที่สกัดจากหิน ต้นไม้ หรือแม้กระทั้งดิน, รวมไปถึงแปรงขนม้าที่ใช้ในการสะบัดสี เหล่านี้ล้วนทำให้ Ebru Marble Paper มีสีสันที่เข้มข้นและสร้างลวดลายได้หลากหลายต่างจาก marble paper ของชาติอื่นๆ นอกจากนี้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติยังปราศจากกลิ่นทางเคมี ทำให้เราสูดหายใจได้เต็มปอดขณะทำงาน

หลักการทำ Ebru Marble Paper เปรียบเหมือนการระบายสีลวดลายลงบนผิวน้ำที่มีความเข้มข้น* และใช้แผ่นกระดาษ (หรือวัสดุอื่น เช่น ผ้า แผ่นกระเบื้อง เปลือกไม้)ซึมซับลวดลายบนผิวน้ำลงบนพื้นผิวของวัสดุนั้นๆ
ฟังดู สวย ง่าย...แต่ไม่ง่าย!...แต่ก็ไม่ยากนะคะ!! คุณครูบอกว่าขอให้ใช้ความกล้า (สะบัด สะบัด สะบัด...สี!)เท่านั้นค่ะ! เพราะศิลปะการทำกระดาษ Ebru Marble Paper ไม่มีข้อจำกัดใดๆ เป็นการทดลองสร้างลวดลายไปเรื่อยๆด้วยน้ำหนักของการสะบัดสีบนผิวน้ำ การหยดสี และการสร้างทิศทางของการผสมสี เพราะฉะนั้นลวดลายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่สามารถทำซ้ำได้อีก (โอ้ว...หรือในทางกลับกัน พลาดแล้วพลาดเลยค่ะ!555)

ทำความรู้จักกับศิลปะการทำกระดาษ Ebru Marble Paper และคุณครูHayrenttin ได้ที่:
Ebru Workshop; Studio 9, 230 Dalston Line, E8 1LA London
Tel. 07972 460717 www.ebruart.co.uk

*ในข้อมูลประวัติศาสตร์ของการทำกระดาษ มีการกล่าวถึงการระบายสีบนผิวน้ำหรือศิลปะการทำ marble paper ในสมัยราชวงศ์ถังแห่งประเทศจีน จากนั้นศิลปะการทำ marble paper จึงได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียและประเทศในแถบยุโรปในปัจจุบัน 

2.7.13

Back in service . . . Likay paperwork

The Begins: wedding guest book
size 180x20cm.